ทำความรู้จักกับ อัลกอริทึม ของ Google

Share : facebook line twitter fb-messenger

บทความ ทำความรู้จัก กับ อัลกอริทึม ของ Google

บทความ www.seolnwza.com



อัลกอริทึม ของ Google ถือเป็นสิ่งสำคัญที่คนทำเว็บทุกคนต้องรู้ โดยเฉพาะคนที่ทำ SEO เพราะเกี่ยวกับการจัดอันดับในหน้าแสดงผลการค้นหา ซึ่งควรทำความเข้าใจ และรู้จักหลักการทำงานของอัลกอริทึม กันก่อน

Get-to-know-Googles-algorithms

     Google เป็นระบบค้นหา Search Engine ที่ได้รับความนิยมอย่างมากเป็นอันดับต้นๆ แทบจะใช้ Google เพื่อค้นหาข้อมูลต่างๆ เป็นหลักเลยด้วยซ้ำ Google จึงสร้างโปรแกรมขึ้นมา นั่นคือ “อัลกอริทึม” ( Algorithm ) เพื่อคัดกรองเว็บไซต์ ดึงเนื้อหา ข้อมูล ที่มีความใกล้เคียงกับคำ หรือ Keyword ที่มีคนเสิร์ชหา มาจัดอันดับในหน้าแสดงผลการค้นหา ซึ่งจะทำให้คุณสามารถค้นหาอะไรก็เจอได้อย่างง่ายๆ

 

     ผู้ที่ทำ SEO และนักการตลาดทั้งหลาย หากต้องการให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับในหน้าแรกๆ ของ Google นั้น คุณจะต้องเข้าใจหลักการทำงานของ  Algorithm Update ว่าการอัปเดตในแต่ละครั้ง จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง จะส่งผลอย่างไรกับคุณ เพื่อจะได้วางแผนการทำงานและรับมือด้าน SEO ให้สอดคล้องกับ Google ซึ่งที่ผ่านมา Google ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า Google ให้ความสำคัญกับคุณภาพของเนื้อหา บทความ

 

Google Algorithm ที่ควรรู้จัก มีดังนี้

1. Panda

     Google Panda เป็น Algorithm ที่เปิดตัวเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2011 ถูกสร้างมาเพื่อลดอันดับของเว็บไซต์คุณภาพต่ำ เว็บไซต์ที่เผยแพร่เนื้อหา บทความที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าชมเว็บไซต์ รวมทั้งเว็บไซต์ที่คัดลอกเนื้อหา บทความของเว็บไซต์อื่นมาใช้เป็นผลงานของตัวเอง 

 

     ดังนั้น Google Panda จะลดอันดับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาซ้ำกันกับเว็บไซต์อื่น คัดลอกมาจากเว็บไซต์อื่น ไปจนถึงมีเนื้อหาน้อย สแปมคีย์เวิร์ด (Spam Keyword) หากอยากผ่านด่านเจ้า Panda ไปได้ ควรเขียนเนื้อหา บทความ ด้วยสำนวนของตัวเอง ไม่ Copy ของชาวบ้านเขามา ยิ่งถ้าเนื้อหาดี มีความสดใหม่ ทันสมัย เกิดประโยชน์ต่อผู้อ่าน จะทำให้เว็บไซต์ถูกส่งขึ้นไปอยู่อันดับต้นๆ ได้อย่างไม่ยาก

 

2. Penguin

     Google Penguin เป็น Algorithm ที่เปิดตัวเมื่อ 24 เมษายน 2012 ถูกสร้างมาเพื่อคอยตรวจสอบความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยงระหว่าง Backlink หรือ ลิงก์ บนเว็บไซต์ และคุณภาพของ Backlink เพราะมี SEO สายดำที่สร้าง Backlink จากเว็บไซต์คุณภาพต่ำ เนื้อหาไม่เกี่ยวข้อง ลิงก์ที่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อปั่นอันดับหน้าเว็บให้สูงขึ้น Google จึงต้องสร้างอัลกอริทึม Penguin ขึ้นมา เพื่อควบคุมปัญหาดังกล่าว

 

     ดังนั้น ต่อไปหากจะใส่ Backlink ลงไปในเนื้อหา บทความ ต้องตรวจสอบให้ดีว่า Backlink นั้น มีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือ และมีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหา บทความในหน้านั้นๆ 

 

3. Pirate

     Google Pirate เป็น Algorithm ที่เปิดตัวเมื่อ สิงหาคม 2012 ถูกสร้างมาเพื่อตรวจสอบเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ ให้ความสำคัญกับลิขสิทธิ์ของเนื้อหาทุกประเภท รวมทั้งป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ของเนื้อหาบนเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็น เว็บดูทีวีออนไลน์ที่ไม่ใช่ Official เว็บดูหนังฟรี และอื่นๆ อีกมากมาย เปรียบเสมือนตำรวจไซเบอร์ที่คอยตามจับผู้ร้ายตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อช่วยลดการแสดงผลของเว็บไซต์เหล่านี้ลง และจัดการเว็บไซต์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ให้หายไป

 

4. Hummingbird

     Google Hummingbird เป็น Algorithm ที่เปิดตัวเมื่อ 22 สิงหาคม 2013 ถูกสร้างมาเพื่อให้คาดเดากลุ่มคีย์เวิร์ด (Keyword) ที่ผู้ใช้ต้องการค้นหาแบบล่วงหน้าอย่างชาญลาด ให้ความสำคัญกับการค้นหาข้อมูล ความหมาย และจุดประสงค์ในการค้นหาที่คำนึงถึงความต้องการของผู้ค้นหามากที่สุด

 

5. Pigeon

     Google Pigeon เป็น Algorithm ที่เปิดตัวเมื่อ 24 กรกฎาคม 2014 ถูกสร้างมาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการค้นหา โดยจะทำหน้าที่จัดอันดับผลการค้นหา หรือ แสดงผลการค้นหา ตาม Location ของผู้ Search ยึดตำแหน่งที่อยู่ของผู้ค้นหาเป็นหลัก ซึ่งอิงตามหลักเกณฑ์เดียวกันกับการจัดอันดับเว็บไซต์แบบ SEO

 

     ซึ่งการค้นหาที่ Google จะนำมาแสดงเป็นอันดับต้นๆ นั้น จะต้องมีการลงข้อมูลหรือตั้งค่ากับ Google My Business ต้องระบุตำแหน่งที่ตั้งของร้านให้ถูกต้องและแม่นยำที่สุด มีการตั้งชื่อ Title และประเภทธุรกิจให้ครบถ้วนและสัมพันธ์กับพื้นที่หรือเมือง ณ จุดนั้น รวมถึงมีเว็บไซต์เพื่อให้ผู้ค้นหาทราบข้อมูลของร้านเพิ่มเติม เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ซึ่งหากคุณมีปัจจัยทั้งหมดนี้ครบถ้วน Google ก็จะนำไปแสดงให้ผู้ค้นหาเห็นได้ในลำดับต้นๆ

 

6. Mobile Friendly

     Google Mobile Friendly เป็น Algorithm ที่เปิดตัวเมื่อ 21 เมษายน 2015 ถูกสร้างมาเพื่อใช้ตรวจสอบเว็บไซต์ว่าหน้าเว็บเหมาะสมกับการใช้งานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ไอแพด

 

     เพราะในปัจจุบันผู้ใช้งานมักค้นหาสิ่งต่างๆ บน Google ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่มากขึ้น ทำให้ Google ต้องเพิ่ม Algorithm ในการจัดอันดับเว็บไซต์ที่แสดงผลบนมือถือได้เป็นอย่างดี หรือที่เรียกว่า Responsiveโดยอัลกอริธึมตัวนี้จะเพิ่มอันดับให้กับเว็บไซต์ที่เป็น Responsive เพราะให้ความสะดวกต่อผู้ใช้ และลดอันดับเว็บไซต์ที่ไม่เป็น Responsive ลง เพราะถือว่าไม่มีความสะดวกแก่ผู้ใช้

 

     หากเว็บไซต์ของคุณมีรูปแบบที่เหมาะสมกับอุปกรณ์เคลื่อนที่จะถูกจัดอันดับให้อยู่ด้านบนสุดของการค้นหาบนมือถือ

 

7. Rankbrain

     Rankbrain เป็นระบบ Machine Learning ที่เปิดตัวเมื่อ 26 ตุลาคม 2015 ซึ่งจะช่วยในเรื่องการค้นหาความหมายของคำ หรือ กลุ่มคำที่ใช้ค้นหา สามารถถอดรหัสความหมาย และทำการคัดกรองเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาตรงตามความต้องการมากที่สุด โดยอิงมาจากความเกี่ยวข้องกันระหว่างเนื้อหา บทความบนหน้าเพจ และคำค้นหา เพื่อแสดงผลการค้นหาที่ตอบสนองต่อการค้นหาของผู้ใช้งาน ให้ตรงตามคำค้นหา และ RankBrain สามารถเรียนรู้ พัฒนาประสิทธิภาพในการคัดกรองได้ตลอดเวลา เนื่องจากเป็น Machine Learning นั่นเอง

 

8. Possum

     Google Possum เป็น Algorithm ที่เปิดตัวเมื่อ 1 กันยายน 2016 ถูกสร้างมาสำหรับการกรองผลการจัดอันดับ การจัดเรียงผลลัพธ์ที่ดีขึ้น และแสดงข้อมูลในบริเวณของผู้ค้นหาเท่านั้น โดยพิจารณาจากตำแหน่งของผู้ค้นหา หรือ ที่ตั้งของธุรกิจ ที่อยู่ใกล้ที่สุดเป็นอันดับแรกๆ

 

9. Fred

     Google Fred เป็น Algorithm ตัวล่าสุดที่เปิดใช้งาน เมื่อ 8 มีนาคม 2017 ถูกสร้างมาให้มีหน้าที่ตรวจสอบมาตรฐานของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยเฉพาะบทความที่ไร้คุณภาพ เว็บไซต์ที่แสดงโฆษณา หรือ มี Affiliate Link มากเกินไป ที่ไม่เกิดประโยชน์กับผู้ใช้งาน หากมีสิ่งเหล่านี้มากจนเกินไป จะทำการลดอันดับเว็บไซต์นั้นทันที หากไม่อยากโดนลดอันดับเว็บไซต์ ควรทำเนื้อหา บทความให้มีคุณภาพ เกิดประโยชน์กับผู้อ่าน

 

     จะเห็นได้ว่า Algorithm ทุกอย่างที่ Google ตั้งขึ้นมานั้นเกี่ยวข้องกับเนื้อหา บทความ ที่ต้องการให้มีคุณภาพ มีประโยชน์ต่อผู้อ่านจริงๆ ทั้งดีต่อเว็บไซต์และยังดีต่อการจัดอันดับในหน้าแสดงผลการค้นหาอีกด้วย และอย่าลืมอัปเดต Algorithm กันด้วยนะคะ

 

หากใครสนใจอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “การทำบทความ” ติดตามจากบทความด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

เทคนิค ดีๆ ในการเขียนบทความให้ติด SEO

ทำ SEO ติดหน้าแรกได้ด้วย “บทความ”

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก papayiw

Created : 22/10/2019

บทความที่น่าสนใจ

SEO รู้ว่าเสี่ยง แต่คงต้องขอลอง

ทำเว็บไซต์ ให้เติบโต ด้วยการ ทำ SEO


phone line chat_facebook