Index คืออะไร?
เวลาที่คนส่วนใหญ่ค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูล ระบบจะทำการค้นหาข้อมูลทั้งหมด โดยไม่มีสิ่งที่ระบุไว้ก่อนว่าให้ค้นหาเฉพาะฟิวด์ไหน ซึ่งการทำ Index ก็เป็นเสมือนการกำหนดสิ่งที่จะต้องค้นหาข้อมูล Feild นั้นก่อนเสมอ ทำให้เป็นการช่วย ลดระยะเวลาในการค้นหาได้มากพอสมควร ซึ่งหากฐานข้อมูลไหนมีข้อมูลเยอะก็จะเห็นผลได้อย่างชัดเจน
Index คือ หน้าเว็บทั้งหมดที่กูเกิลได้รวบรวมข้อมูล และมีการจัดเก็บไว้เพื่อแสดงต่อผู้ค้นหาของ Google เพราะ Index ยังเป็นการเก็บรวมรวบข้อมูลลิงก์ต่างๆ ทั้งหลายบนอินเทอร์เน็ตไปเก็บไว้บน Google โดยมีระบบการเก็บรวบรวมที่เรียกว่า Crawl และตัว Crawler สำหรับเก็บข้อมูลที่เรียกว่า Googlebot
การทำ Index หรือฐานข้อมูลเป็นการทำดัชนีของข้อมูล ซึ่งฐานข้อมูลที่ได้ทำ Index ไว้จะถูกเรียงข้อมูลตามดัชนี ทำให้เวลาค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลที่ทำ Index จะมีกระบวนการค้นหาตามดัชนี โดยที่ไม่ต้องไปไล่ข้อมูลทั้งหมด ซึ่งจะส่งผลให้ประสิทธิ์ภาพการเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูลนั้นๆ รวดเร็วขึ้น
ข้อควรรู้เกี่ยวกับ Index
- Index คือ การที่บอทของ Google หรือ Google Bot เข้ามายังเว็บใดเว็บหนึ่ง แล้วทำการเก็บข้อมูล จากนั้นจะนำข้อมูลที่ได้ ไปเก็บไว้ในฐานข้อมูล เพื่อเก็บไว้ให้ผู้คนได้ค้นหากันในอนาคต หากเว็บนั้นๆ ไม่มีการ Index ไว้ ก็จะไม่ปรากฏชื่อ ในการค้นหา ทำให้คนที่เข้ามาใช้ Google ไม่มีทางเจอเว็บได้ ปกติเว็บจะถูก index ใน Google โดยอัตโนมัติ
- index ของกูเกิลคือ การที่ Google เข้ามาตรวจเว็บหรือเพจของคุณ แล้วจัดอันดับ เพื่อให้ตรงกับการค้นหาของ Google
- วิธีเช็ค Index ว่ากูเกิลทำการเก็บข้อมูลเว็บหรือยัง? เพียงแค่พิมพ์ในช่อง Search ของ Google คำว่า site: แล้วตามด้วยชื่อเว็บของคุณแล้วค้นดู Google จะแสดงการหน้าเว็บของคุณว่ามีการ index เข้าไปในสาระบบของ กูเกิลกี่หน้า และข้อมูลมากแค่ไหน
- blog ที่พึ่งจดโดเมนได้ไม่ถึง 5 วัน อาจต้องใช้เวลาเพื่อให้ bot หรือ Google index เข้ามาสำรวจ เพราะในปัจจุบันนี้อัลกอลิทึ่มของกูเกิลมีการปรับตัว ปรับแต่ง และพัฒนาบ่อยขึ้น ทำให้การจัดอันดับเว็บหรือจัดคีย์เวิร์ดไหน จะต้องมีปัจจัย และเทคนิคที่ Google ได้ออกแบบไว้ ซึ่งทาง เว็บมาสเตอร์ หรือนัก SEO จะต้องปรับและพัฒนา เรียนรู้ แก้ไข เพื่อให้เป็นที่ ถูกใจกูเกิล
สรุปการทำ Index
การทำ index คือการที่บอทได้เข้ามายังเว็บแล้วนำข้อมูลที่ได้กลับไปเก็บไว้ในฐานข้อมูล เอาไว้ให้ผู้คนได้ค้นหา หากเว็บใดที่ไม่มีอยู่ในฐานข้อมูลของกูเกิล จะไม่ปรากฏเว็บของการค้นหา เท่ากับว่าเว็บนั้นไม่มีผู้เข้าชมจากกูเกิล ซึ่งการทำงานของบอทจะเข้ามาเก็บ URL รวมทั้งเว็บหลักและหน้าเนื้อหาที่มีอยู่ในเว็บเดียวกันเกือบทั้งหมด
ปกติบอทจะเก็บข้อมูลทุกหน้าในเว็บนั้นๆ หากเว็บมีการทำลิงก์เชื่อมโยงไปยังหน้าอื่นๆ นอกเหนือจากหน้าแรกของเว็บโดยทั่วไป ซึ่งเว็บมาสเตอร์ส่วนใหญ่จะเขียนไฟล์ site map ที่เป็นไฟล์รูปแบบ xml ซึ่งจะทำให้บอทเรียกเก็บข้อมูลหน้าต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น