เจ้าสัวธนินท์ วางแผนธุรกิจ CP 2.0 เข้าสู่ 4.0 โดย“สุภกิต“ คุมธุรกิจดั้งเดิม ซีพีเอฟ ลุยธุรกิจอนาคต ไฮสปีดเชื่อม3สนามบิน ธุรกิจดิจิทัลสู่ผู้นำ"อี-วอลเล็ต“ภูมิภาค ผลักดันองค์กรเข้าสู่ปีที่ 100
การเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจเป็นไปอย่างรวดเร็ว ในยุค 4.0 การแข่งขันก็ต้องสูงตามไปด้วย การปรับเปลี่ยนและการวางแผนที่สำคัญจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซีพี เริ่มต้นเมื่อปี 2464 จากร้านจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ผักบนถนนเยาวราช ที่บิดาของนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ตั้งขึ้นมาและกลายมาเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทย
ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ มีบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด เป็นบริษัทแม่ที่คอยทำหน้าที่เป็นโฮลดิ้ง คอมพานี ถือหุ้นบริษัทภายในประเทศและต่างประเทศรวม 21 ประเทศ โดยมีรายได้ปี 2560 อยู่ที่ 1.74 ล้านล้านบาท มีพนักงาน 306,695 คน
ในระหว่างการดำเนินธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ปีที่ผ่านมาได้มีการวางกลยุทธ์เพื่อเข้าสู่ปีที่ 100 ในอีก 2 ปี หรือปี 2564 ที่จะถึงนี้ เมื่อปี 2558 นายธนินท์ ประกาศนโยบายความยั่งยืน และนำเอาเป้าหมายการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน (17 SDGs) มาเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินธุรกิจ
“หัวใจของความยั่งยืนจะทำให้ธุรกิจและสังคมเติบโตไปพร้อมกัน และจะเป็นส่วนสำคัญที่นำพาให้เครือเจริญโภคภัณฑ์ก้าวขึ้นสู่การเป็นองค์กรที่มีอายุ 100 ปี ด้วยความภาคภูมิใจ"
นายธนินท์ ระบุในรายงานความยั่งยืนประจำปี 2560
เป็นอีกหนึ่งโจทย์ที่สำคัญในการสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ ก็คือการพัฒนาบุคคลากรให้ขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารระดับต่างๆ โดยจัดตั้งสถาบันพัฒนาผู้นำ CPLI พร้อมกันนี้ นายธนินท์ได้ปลดตำแหน่งตัวเองในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อส่งต่อให้รุ่นที่ 3
แต่งตั้ง สุภกิต คุมค้าปลีกไทย-จีน
25 เมษายน ที่ผ่านมา นายธนินท์ได้มีการแต่งตั้งลูกชาย สุภกิต เจียรวนนท์ ขึ้นรับตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ซึ่งแกนหลักในธุรกิจอาหาร แทนนายธนินท์ที่ลาออกด้วยเหตุต้องการไปผลักดันภารกิจด้านอื่น
หลังจากนั้นไม่นาน 9 พฤษภาคม ที่ผ่านมานายธนินท์ ได้ลาออกจากบริษัท ซีพีออลล์ จํากัด (มหาชน) และแต่งตั้งนายสุภกิตดำรงตำแหน่งแทน
มั่นใจ“สุภกิต-ศุภชัย”รับมือวิกฤติ
ในขณะเดียวกันนายศุภชัย เจียรวนนท์ ลูกชายคนที่ 3 ที่ได้ดำรงตำแหน่งดูแลบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในกลุ่มธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมมาก่อน จึงทำให้มีบทบาทมากขึ้นเมื่อถูกแต่งตั้งเป็นประธานคณะผู้บริหารบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด เมื่อปี 2560 และมีบทบาทสำคัญในการดูแลธุรกิจใหม่ของเครือ
แผนแรกนายธนินท์ มีเป้าหมายจะปรับโครงสร้างผู้บริหารมานานแล้ว โดยนายธนินท์ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวเมื่อปี 2560 ว่า เริ่มปรับโครงสร้างช้าไป 10 ปี แต่ช่วงนั้นเพิ่งเกิดวิกฤติเศรษฐกิจที่ตัดสินใจเหลือเฉพาะธุรกิจค้าปลีกกับโทรศัพท์ แต่ผ่านวิกฤติมา 20 ปี แล้ว ทำให้นายสุภกิตและนายศุภชัยมีประสบการณ์ และความรู้ด้านต่างๆ ในการเผชิญวิกฤติ ใหม่ๆได้
โครงสร้างไม่ยึดธรรมเนียมจีน
นายธนินท์ อธิบายว่าความแตกต่างของลูกชาย 2 คน คือ นายสุภกิตที่รับหน้าที่ประธานกลุ่มเป็นคนที่มีเพื่อนฝูงสร้างคอนเนคชั่น และในขณะเดียวกันที่นายศุภชัย เป็นซีอีโอกลุ่มก็จะเป็นคนลงรายละเอียดของงาน
ดังนั้น “โครงสร้างผู้บริหารใหม่ของซีพี หลังจากนี้ไปจะไม่ยึดตามวัฒนธรรมจีนเดิมที่ว่า ลูกชายคนโตต้องเป็นผู้สืบทอด แต่เป็นการใช้ความสามารถในการคัดเลือกเพื่อปรับเปลี่ยนให้บริษัทเติบโตไม่มีที่สิ้นสุด คนในครอบครัวอาจจะดูแลระบบบัญชี และหาคนเก่งมาบริหาร ซึ่งเป็นระบบของซีพีในปัจจุบันที่มีคุณสุภกิต และคุณศุภชัย เป็นซีอีโออยู่ด้านบน” นายธนินท์ กล่าว
ปรับแผนใหม่ ลงทุนไฮสปีด
ในช่วงที่องค์กรกำลังเข้าสู่ 100ปี ได้เปิดโอกาสในการทำธุรกิจใหม่ จากการประมูล 2 โครงการพิเศษภาคตะวันออก 1.ชนะประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ) และกำลังจะลงนามกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)
2.ยื่นประมูลพัฒนาสนามบินอู่เภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งในเครือซีพีได้ยื่นศาลปกครองกลางกรณีกองทัพเรือไม่รับพิจารณาเอกสาร 2 กล่องที่ยื่นหลังกำหนดรับซองประมูล
พันธมิตรเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่ร่วมยื่นประมูลรถไฟความเร็วสูง ระบุว่า หากได้สิทธิพัฒนาทั้ง 2 โครงการ จะทำให้การลงทุนมีโอกาสสำเร็จมากขึ้น เนื่องจากทำแผนพัฒนาธุรกิจร่วมกันได้ เช่น แผนการเพิ่มจำนวนผู้โดยสารรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเชื่อมต่อผู้โดยสารจากสนามบินอู่ตะเภา
ความหวัง ที่“ไฮสปีด”จะช่วยพัฒนาเมือง
นายศุภชัย ได้บะยาย ในงานสัมมนาเครือเจริญโภคภัณฑ์ เมื่อ พฤษภาคม ที่ผ่านมา ใจความว่า ที่ รถไฟความเร็วสูงเป็นการลงทุนที่เสี่ยงและผลตอบแทนไม่สูง แต่แกนหลักหัวใจสำคัญคือให้ทำให้เกิดการพัฒนาเมืองกระจายความเจริญด้านเศรษฐกิจ สังคมสู่ชุมชน
“ฟินเทค”ธุรกิจแห่งอนาคต
ในกลุ่มฟินเทค 1 ธุรกิจแห่งอนาคต และยังเป็นเป้าหมายของเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่จะนำไปสู่ระดับเอเชีย โดยปี 2559 มีจุดเปลี่ยนสำคัญเมื่อ บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ ผู้ให้บริการอี-วอลเล็ตภายใต้ “ทรูมันนี่” ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ประกาศเป็นพันธมิตรกับบริษัทแอนท์ ไฟแนนเชียล เซอร์วิสเซส กรุ๊ป ผู้ให้บริการอี-วอลเล็ต ของกลุ่มอาลีบาบา ประกาศเป้าหมายเป็นผู้นำฟินเทค และดิจิทัล เซอร์วิส ในเอเชีย และเข้าถึงผู้ใช้กว่า 2 พันล้านคนใน 10 ปี โดยปรับจากฟินเทคไปสู่ฟินไลฟ์ เพื่อบริการชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ
ความหวังที่จะเป็นผู้นำ ตลาดอีวอลเลต ของอาเซียน
กรรมการผู้จัดการใหญ่ นางสาวมณสินี นาคปนันท์ (ร่วม) บริษัทแอสเซนด์ มันนี่ จำกัด ประกาศว่า ทรูมันนี่เป็นแอพพลิเคชั่นอีวอลเล็ตเบอร์ 1 ในอาเซียน โดยเปิดให้บริการ 6 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ กัมพูชา เมียนมาและไทย ยอดธุรกรรมทั้ง 6 ในประเทศ ณ เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา มากกว่า 3 แสนล้านบาท ยอดผู้ใช้งานรวมกว่า 40 ล้านราย มีพันธมิตรตัวแทนรับชำระเงินมากกว่า 65,000 ราย ส่วนในไทยมีผู้ใช้งาน 10 ล้านราย และตั้งเป้าสิ้นปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 14 ล้านราย
โมเดลไฮบริดเพย์เม้นท์
ในปัจจุบันมีจุดบริการเติมเงินมากกว่า 5 แสนจุดทั่วประเทศทั้งผ่านธนาคาร ร้านสะดวกซื้อ และตู้คีออส จุดเด่นที่ทำให้ครองอันดับ 1 ด้วยความง่ายต่อการใช้งาน และสามารถชำระกับร้านในเครือพันธมิตรได้อย่างหลากหลาย เช่น จ่ายบิล ซื้อของออนไลน์ และที่สำคัญเป็นบริการที่มีอีโคซิสเต็มส์แข็งแรง เฉลี่ยลูกค้าใช้จ่าย 200 บาทต่อทรานแซคชั่น ต่อเดือนเฉลี่ย 7.2 ครั้ง
อย่างไรก็ตามในเครือเจริญโภคภัณฑ์ มีการวางปรับยุทธศาสตร์โครงสร้างใหม่ เพื่อผลักดันธุรกิจเข้าสู่ ปีที่ 100และ แผนที่จะพัฒนาประเทศก้าวเข้าสู่อนาคตอย่างยั่งยืน ตั้งปณิธานที่มั่นคง เข้าสู่4.0 ไม่เพียงแต่ระดับภาคธุรกิจภายในแต่ครอบครุมไปถึงระดับชาติเชื่อมโยงหลากธุรกิจเข้าด้วยกัน นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่าง เช่น ด้านการตลาดโลก เศรษฐกิจโลก ครั้งใหญ่ของ CP
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ