1. การใช้ข้อมูลในการดึงดูดและรักษาลูกค้า
ลูกค้าคือทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดที่คุณควรใส่ใจ ไม่มีธุรกิจใดที่สามารถประสบความสำเร็จได้โดยปราศจากการสร้างฐานลูกค้าที่แข็งแรง การใช้ Big Data ช่วยให้ธุรกิจของคุณสามารถสังเกตรูปแบบและแนวโน้มของลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น ผ่านการรวบรวมข้อมูลของลูกค้าทั้งหมดที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย ด้วยกลไกการวิเคราะห์ข้อมูลและการสังเกตพฤติกรรมของลูกค้า ที่จำเป็นต่อการรักษาฐานลูกค้าของธุรกิจ
2. การใช้ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาผู้โฆษณาและเสนอข้อมูลเชิงลึกทางการตลาด
การวิเคราะห์ Big Data สามารถช่วยจับคู่ระหว่างความคาดหวังของลูกค้ากับธุรกิจได้ ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนสายผลิตภัณฑ์ของธุรกิจให้ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้ามากขึ้น ในการทำแคมเปญโฆษณาที่ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามความต้องการ นั้นอาจเป็นเพราะพวกเขาได้ข้ามขั้นตอนในการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนลงมือทำโฆษณานั้นเอง สิ่งเหล่านี้เป็นวิธีที่นักการตลาดและนักโฆษณาใช้ในการทำงานเพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกถึงสิ่งที่ลูกค้าต้องการมากยิ่งขึ้น โดยนำมาซึ่งการบรรลุเป้าหมายในการทำแคมเปญการตลาดที่ตอบโจทย์ลูกค้า
3. การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการจัดการความเสี่ยง
การวิเคราะห์ Big Data มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาทางเลือกให้แก่การบริหารจัดการความเสี่ยง เมื่อพิจารณาถึงความพร้อมของข้อมูลที่เพิ่มขึ้นและความหลากหลายของสถิติการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพมหาศาล ดังนั้นธุรกิจสามารถบรรลุเป้าหมายและตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ได้ดีมากยิ่งขึ้น
4. การใช้ข้อมูลในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
Supply Chain Management (SCM) หรือการจัดการห่วงโซ่อุปทานคือ กระบวนการดำเนินงานของวัสดุ สินค้า ตลอดจนการผลิต ข้อมูล และธุรกรรมต่างๆ ผ่านองค์กรที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภค
Big data ช่วยให้ซัพพลายเออร์หรือคนที่มีหน้าที่จัดหาวัตถุดิบต่างๆให้แก่โรงงานนำไปผลิตสินค้าเพื่อขายนั้นสามารถทำงานได้อย่างแม่นยำและชัดเจนมากขึ้น ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลจากปลายทาง
ในการวิเคราะห์ข้อมูลและการนำมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ทำให้องค์กรสามารถตัดสินใจได้รวดเร็ว และเพิ่มความสามารถให้คุณแข่งแกร่งมากยิ่งขึ้นบนโลกออนไลน์
บทความที่เกี่ยวข้อง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก stepstraining