ปี 2562 ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา มีการใช้งบ โฆษณาดิจิทัล ( Digital Ads ) ทั้งหมด 9,019 ล้านบาท ส่วนครึ่งปีหลังคาดการณ์ว่าจะมีการใช้เงินทั้งหมด 11,144 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นเม็ดเงินจำนวนมหาศาล
โฆษณาดิจิทัล ( Digital Ads ) เติบโตอย่างต่อเนื่องมาหลายปี มีสถิติและเทรนด์ที่น่าสนใจมากมาย ซึ่งในวันนี้เราจะมาพูดถึงภาพรวมและเทรนด์การใช้งบประมาณกับ โฆษณาดิจิทัล ( Digital Ads ) ในปี 2562 ว่าแต่ละอุตสาหกรรมให้ความสนใจและดำเนินการด้านโฆษณาไปในทิศทางใด
โฆษณาดิจิทัล ( Digital Ads ) ขยายตัวทุกปี ปีละ 3,000-4,000 ล้านบาท เป็นการตอกย้ำว่าแบรนด์หันมาลงทุนกับสื่อ โฆษณาดิจิทัล ( Digital Ads ) มากขึ้น นับตั้งแต่ปี 2016 ที่ใช้เม็ดเงินราว 9,479 ล้านบาท ขยับขึ้นมาเป็น 12,402 ล้านบาทในปี 2017 (เพิ่มขึ้น 31%) ในปี 2018 ขึ้นมาเป็น 16,928 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 36%) และในปี 2562 คาดการณ์ว่าจะมีเม็ดเงินสะพัดใน โฆษณาดิจิทัล ( Digital Ads ) กว่า 20,000 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นราว 19%) ซึ่งสาเหตุหลักที่สนับสนุนให้การใช้สื่อ โฆษณาดิจิทัล ( Digital Ads ) เติบโต มาจากการที่สื่อดั้งเดิมเริ่มหายไปจากธุรกิจเป็นจำนวนมาก รวมทั้งการย้ายไปสู่ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ทำให้เทรนด์โฆษณามุ่งเป้ามาที่ออนไลน์และโซเชียลมีเดียแทน
อุตสาหกรรมที่ใช้งบโฆษณาสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ ใช้เงินไป 2,596 ล้านบาท กลุ่มสกินแคร์ 1,900 ล้านบาท กลุ่มการสื่อสาร 1,584 ล้านบาท กลุ่มเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ 1,436 ล้านบาท และกลุ่มธุรกิจธนาคาร 1,197 ล้านบาท ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจคือ กลุ่มสกินแคร์ ที่ไต่อันดับขึ้นมาเรื่อยๆ จากอันดับ 4 ในปี 2560 ขึ้นมาเป็นอันดับ 3 ในปี 2561 และปี 2562 เบียดขึ้นมาเป็นอันดับ 2
กลุ่มสกินแคร์ มักจะติดอันดับการใช้งบโฆษณามาตลอดในแง่ของเม็ดเงินโดยรวม แต่หากวัดในแง่ของ โฆษณาดิจิทัล ( Digital Ads ) จะเห็นว่า 2-3 ปีมานี้ ใช้เงินมากขึ้น ไม่แน่ในอนาคตอาจจะเบียดกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ก็ได้
มีอีกกลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจ แม้จะไม่ได้ติดอุตสาหกรรมที่ใช้งบโฆษณาสูงสุด 5 อันดับแรก นั่นคือ กลุ่มขนม หรือ กลุ่มสแน็ค ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ลงทุนกับสื่อ โฆษณาดิจิทัล ( Digital Ads ) เพิ่มขึ้นมากที่สุดในปีนี้ เป็นกลุ่มเติบโตมากที่สุด จาก 329 ล้านบาท เป็น 690 ล้านบาท ซึ่งสาเหตุที่กลุ่มสแน็คหันมาทุ่มให้กับ โฆษณาดิจิทัล ( Digital Ads ) เป็นการถ่ายโอนมาจากแพลตฟอร์มเก่าอย่างทีวี ซึ่งปิดตัวลงหลายช่อง โดยเฉพาะช่องรายการเด็ก ทำให้ธุรกิจสแน็คต้องหันไปใช้โฆษณาดิจิทัลมากขึ้น เด็กและวัยรุ่นก็ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์กันอยู่แล้วด้วย
มาดูในเรื่องการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ได้รับความนิยมกันบ้างดีกว่า ที่ได้รับความนิยมสูงสุดยังคงเป็น Facebook และ YouTube ยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่นักโฆษณาและการตลาดเลือกใช้เป็น 2 อันดับแรก ครองสัดส่วนเม็ดเงิน 49% โดย Facebook มาเป็นอันดับ 1 มีสัดส่วน 29% และ YouTube มาเป็นอันดับ 2 มีสัดส่วน 20% และที่น่าสนใจอีกอย่างคือ Creative (ครีเอทีฟ/การจ้างทำชิ้นงานโฆษณา) ขึ้นมาเป็นอันดับ 3 มีสัดส่วน 10% การที่ครีเอทีฟมีอันดับสูงเป็นเพราะมีเดียเอเจนซี่จะทำงานร่วมกับครีเอทีฟเอเจนซี่ เพื่อดูว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคไปอยู่ที่แพลตฟอร์มไหน สนใจเรื่องอะไร และนำไอเดียที่มาจากครีเอทีฟก่อนจะกระจายออกไป
จะเห็นได้ว่าภาพการใช้เม็ดเงินโฆษณาบนสื่อ โฆษณาดิจิทัล ( Digital Ads ) สะท้อนให้เห็นว่า เทรนด์ของผู้บริโภคกำลังเข้าสู่ยุคดิจิทัลแบบเต็มตัว ซึ่งทั้งหมดนี้ยังคงเป็นเรื่องท้าทายของนักการตลาดในอนาคตอีกด้วย หากใครสนใจลงทุนทำ Digital Ads ทางเรายินดีให้บริการนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก thestandard
อ่านบทความเพิ่มเติม