การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ที่ผ่านมา ส่งผลให้องค์กรธุรกิจต่าง ๆ ต้องปรับลดงบปะมาณการใช้ สื่อโฆษณา แต่สื่อออนไลน์ยังคงมีอยู่ ทำให้ อาชีพ Influencer ( อินฟลูเอนเซอร์ ) เติบโตขึ้นใน ยุคดิจิทัล
ในปัจจุบัน มีธุรกิจเปิดใหม่เป็นจำนวนมาก ทำให้การแข่งขันทาง การตลาด สูงมากเช่นกัน โซเชียลมีเดีย จึงเป็นช่องทางโปรโมทที่หลาย ๆ ธุรกิจนิยมใช้กัน ทำให้เจ้าของแบรนด์ และ นักการตลาด จะต้องหาวิธี ให้ธุรกิจของตนเองเป็นที่รู้จักให้มากที่สุด Influencer ( อินฟลูเอนเซอร์ ) จึงมีบทบาทเพิ่มขึ้น เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาด
Influencer ( อินฟลูเอนเซอร์ ) คืออะไร
Influencer ( อินฟลูเอนเซอร์ ) หรือ KOL ( Key Opinion Leader ) คือ ผู้มีอิทธิพลบนสื่อโซเชียล โดยจะเป็นผู้ที่ทำคอนเทนต์เผยแพร่ตาม แพลตฟอร์ม ต่าง ๆ เช่น Blog, Instagram, Facebook, YouTube แล้วมีคนติดตาม ยิ่งมีผู้ติดตามมากก็ยิ่งมีอิทธิพลมาก ผู้ติดตามส่วนใหญ่ มักเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ และมักคล้อยตามคำแนะนำที่ Influencer พูดโน้มน้าวใจ เพราะรู้สึกถึงความใกล้ชิด และจริงใจกว่าสื่อโฆษณาของแบรนด์ต่าง ๆ
Influencer มีหลายแบบ เช่น กูรูด้านความงาม ( Beauty Blogger ) และ แฟชั่น คนที่ชอบท่องเที่ยว และรีวิวอาหาร ผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเกม ดนตรี ภาพยนตร์ รวมถึง Celebrity คนดังที่ออกสื่อโซเชี่ยลเป็นประจำ โดยจะแบ่งตามประเภทได้ ดังนี้
ประเภทของ Influencer
Influencer สามารถแบ่งได้หลายประเภท ส่วนใหญ่มักแบ่งตามจำนวนผู้ติดตาม ดังนี้
1. Celebrity / Mass Publisher
กลุ่มนี้จะมีผู้ติดตามมากที่สุด ตั้งแต่ 100,000 คน ขึ้นไป มักเป็นดารา นักร้อง หรือผู้ที่มีชื่อเสียงมาก่อน
2. Key Opinion Leaders ( KOL )
กลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีความสนใจ หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จึงมีเนื้อหที่ดึงดูดเฉพาะกลุ่ม จำนวนผู้ติดตามของ Influencer กลุ่มนี้จึงไม่ค่อยแน่นอน
3. Micro Influencer
กลุ่มนี้มีผู้ติดตามประมาณ 10,000 – 100,000 คน มักเป็นคนที่สร้างสรรค์ คอนเทนต์ ในเรื่องทั่ว ๆ ไป เช่น ไลฟ์สไตล์ รีวิวอาหาร แหล่งท่องเที่ยว หรือสินค้า
4. Nono Influencer
กลุ่มนี้มีผู้ติดตามประมาณหลัก 1,000 คน มักเป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องเฉพาะ แต่มีฐานผู้ติดตามเหนียวแน่น สามารถสร้างความน่าเชื่อถือ และโน้มน้าวใจได้เป็นอย่างดี
ผลจากการศึกษาพบว่า คนยุค Millennial วัยทำงาน ( อายุ 24-35 ปี ) และ Gen วัยกำลังศึกษา ( อายุ 16-23 ปี ) เชื่อถือในตัว Influencer บนสื่อโซเชียลมากกว่า แคมเปญโฆษณา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคนกลุ่มนี้รับข่าวสารผ่านการติดตาม Influencer มากกว่าโฆษณาแบบอื่น เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สิ่งพิมพ์ หรือออนไลน์
- 80% เข้าไปเช็คดูความเคลื่อนไหวของ Influencer ( อินฟลูเอนเซอร์ ) หลายครั้งในหนึ่งสัปดาห์ และคาดหวังว่าจะเห็นการอัพเดตเทรนด์ หรือ Lifestyle ใหม่ ๆ
- 59% ของชาว Millennial ตัดสินใจซื้อตามคำแนะนำของ Influencer ( อินฟลูเอนเซอร์ ) โดยตรง
- 75% อยากเห็น Influencer แนะนำสินค้าต่าง ๆ มีความเชื่อว่า Influencer ( อินฟลูเอนเซอร์ ) จะแนะนำสินค้าเหล่านั้น ด้วยความจริงใจ ถึงแม้ว่าจะได้รับค่าตอบแทนก็ตาม
Influencer Marketing คืออะไร
Influencer Marketing คือ การตลาดออนไลน์ ที่ใช้ Influencer ในการโฆษณาสินค้า เป็นการตลาดที่แพร่หลายตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2557 ซึ่งเริ่มจากการใช้ Influencer ในกลุ่ม Celebrity หรือ Mass Publisher ที่เป็นดารา นักแสดง ในการโฆษณา หรือรีวิวสินค้า ต่อมา Blog, YouTube ได้พัฒนามาเป็น คอนเทนต์ ที่มีความน่าสนใจ เจ้าของแบรนด์ หรือนักการตลาด จึงหันมาสนใจมากขึ้น
ทำไมถึงต้องใช้ Influencer ในการตลาด
จากผลสำรวจโดย Mediakix พบว่า 80% ของนักการตลาดส่วนใหญ่ ยอมรับการตลาดของ Influencer ได้ผลเกินคาด และได้ลูกค้าคุณภาพสูงกว่าช่องทางอื่น ๆ ถึง 71% และ การตลาด Influencer ยังให้ ผลตอบแทนจากการลงทุน ( ROI ) สูงถึง 89% ในอนาคตแนวโน้มว่าจะมีการใช้ Influencer มาทำการตลาดจะต้องสูงขึ้นอย่างแน่นอน
แนวโน้ม Influencer ( อินฟลูเอ็นเซอร์ ) ขยายตัวมากขึ้น ควบคู่กับการปรับตัวตามพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้ปัจจุบันศิลปิน นักแสดง ที่มีฐานแฟนคลับอยู่จำนวนมาก ก็ผันตัวมาเป็น YouTuber ( ยูทูปเบอร์ )เพิ่มขึ้น เพราะการเป็นอยู่ YouTuber ไม่ต้องลงทุนด้วยเงินจำนวนมาก
ศิลปิน นักแสดง หันมาเป็น YouTuber เพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้การแข่งขันในตลาด Influencer มีความรุนแรงยิ่งขึ้น และเจ้าของตลาดเดิม จึงต้องปรับตัวสร้าง คอนเทนต์ ที่โดดเด่น และเป็นกระแส ให้สอดคล้องกับความต้องการผู้บริโภค ที่สำคัญคือสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งภาพลักษณ์ที่ดีให้แบรนด์
อาชีพ Influencer ปัจจุบัน จึงเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้อุตสาหกรรมโฆษณา มีช่องทางการตลาดมากยิ่งขึ้น และ อาชีพ Influencer ก็ได้รับการยอมรับจากผู้ที่ติดตามเพิ่มขึ้น จากการลงคอนเทนต์ทาง Facebook, Instagram, YouTube