การเพิ่มความเร็วในการโหลด เว็บไซต์ ( Website ) ตอนนี้กลายเป็นเรื่องสำคัญไปแล้ว เพราะ Google นำเรื่องความเร็วเว็บไซต์มาจัดอันดับ Search Ranking ดังนั้น เว็บไหนโหลดช้าอาจอยู่อันดับต่ำกว่าคู่แข่ง
ใครอยากเพิ่มความเร็วของเว็บไซต์ ต้องอ่านบทความนี้แล้วล่ะค่ะ เพราะเราจะนำเสนอเทคนิคที่สามารถนำไปปรับใช้ได้กับ เว็บไซต์ ( Website ) ทุกรูปแบบ
หากมองในแง่ของการตลาด ส่วนใหญ่แล้วแบรนด์ต่างๆ อาจไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องของ การเพิ่มความเร็วเว็บไซต์ โดยมักจะทำภาพมาอย่างสวยงาม เพื่อโปรโมททำการตลาดอย่างเต็มที่ ซึ่งการที่ทำภาพจัดเต็มขนาดนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ ความเร็วเว็บไซต์ ทำงานช้าลงทั้งบนหน้าจอ Desktop และ มือถือ
ถ้าขืนยังทำแบบนั้นอยู่รับรองว่า เว็บไซต์ ( Website ) ของคุณไม่สามารถขึ้นไปอยู่ในอันดับดีๆ แน่ ควรจัดการและปรับปรุงให้เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงที่ลูกค้าเข้ามาแล้วเว็บโหลดช้าจนรอไม่ไหว สุดท้ายลูกค้าหนีหายไปเข้าเว็บอื่นแทนนั่นเอง หากเป็นเช่นนั้นคุณอาจจะสูญเสียรายได้
เทคนิคที่ 1 : จัดการภาพบน เว็บไซต์ ( Website ) ตามความสำคัญ
พิจารณารูปภาพที่ปรากฏบน เว็บไซต์ ( Website ) ว่าจำเป็นหรือไม่ ถ้าภาพไหนไม่จำเป็นควรลบออกไป แล้วแทนที่รูปภาพด้วยข้อความแทน ซึ่งการทำแบบนี้จะช่วยลดความซับซ้อน ลดพื้นที่การดาวน์โหลดลง ทำให้ช่วยเพิ่มความเร็วในการโหลดเว็บไซต์ได้ ลองจัดลำดับความสำคัญของภาพบนเว็บไซต์กันดูนะคะ
เทคนิคที่ 2 : ใช้รูปแบบที่มีประสิทธิภาพ
การเลือกรูปแบบของรูปภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมกับการใช้งาน จะสามารถช่วยลดพื้นที่บางส่วนจากหน้าเว็บได้ อาจเริ่มต้นด้วย WebP ที่เป็นไฟล์ภาพแบบใหม่ที่เป็นการบีบอัดไฟล์โดยไม่สูญเสียคุณภาพของภาพ ไฟล์ภาพนี้จะทำให้ช่วยลดการโหลดหน้าเว็บได้เป็นอย่างดี
เทคนิคที่ 3 : บีบอัด ปรับขนาดภาพ
การปรับภาพให้เหมาะสม สามารถช่วยให้ เว็บไซต์ ( Website ) ประหยัดพื้นที่ ได้เพิ่มความเร็วเว็บไซต์บนมือถือ ซึ่งการปรับขนาดภาพแบบพื้นฐานที่สุด ได้แก่ การบีบอัดภาพ การลบ Metadata ใช้แท็กการปรับแต่งรูปด้วยตนเอง เป็นต้น
เมื่อภาพใน เว็บไซต์ ( Website ) ของคุณได้รับการปรับอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว หมั่นตรวจสอบด้วยว่าภาพถูกแสดงในตำแหน่งและเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ เวลาที่เหมาะสมในที่นี้คือ ภาพโหลดเร็ว ไม่ขึ้นมาช้าจนเกินไป เพื่อช่วยให้ผู้ใช้รู้สึกว่า เว็บไซต์ ( Website ) มีประสิทธิภาพ ทำให้อยู่ในเว็บไซต์นานขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ariomarketing
อ่านบทความที่น่าสนใจ
Severity: Core Warning
Message: PHP Startup: Unable to load dynamic library 'i360.so' (tried: /usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so (libhs_runtime.so.5: cannot open shared object file: No such file or directory), /usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so.so (/usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so.so: cannot open shared object file: No such file or directory))
Filename: Unknown
Line Number: 0
Backtrace: