ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมานี้ Google ได้ทำการอัพเดท Core Web Vitals ที่เป็นปัจจัยในการจัดอันดับเว็บไซต์บน Desktop ซึ่ง Core Web Vitals ส่งผลต่อการทำ SEO อย่างไรบ้าง มาติดตามกัน
Core Web Vitals คืออะไร
Core Web Vitals เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง ของ Google ที่ใช้ในเป็น มาตรฐานการวัด ประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ หรือ User Experience เพื่อให้ผู้พัฒนาเว็บไซต์ได้ ปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ดี ๆ หรือ Page Experiences ให้กับผู้ใช้งานที่เข้าใช้เว็บไซต์ของคุณได้ Core Web Vitals จึงนับได้ว่า เป็นหนึ่งใน ปัจจัยที่มีผลต่อการทำ SEO ได้
โดยทาง Google ได้เริ่มใช้ Core Web Vitals อย่างเป็นทางการมาตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2021 และมีการอัพเดทเรื่อย ๆ จนสมบูรณ์ใน เดือนสิงหาคม 2021 ซึ่ง Google ได้เริ่มใช้ Core Web Vitals กับการจัดอันดับเว็บไซต์ สำหรับมือถือก่อน และพึ่งเริ่มใช้ Core Web Vitals สำหรับ Desktop ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมานี้
องค์ประกอบของ Core Web Vitals
Core Web Vitals ประกอบด้วย องค์ประกอบ 3 ส่วน ดังนี้
1. Large Contentful Paint ( LCP )
เป็นระยะเวลา ในการแสดงผล องค์ประกอบเนื้อหา ขนาดใหญ่ที่สุด ที่มองเห็นได้ในวิวพอร์ต นับตั้งแต่ผู้ใช้งานขอ URL ซึ่งองค์ประกอบของเนื้อหาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบนเว็บไซต์ มักจะเป็น รูปภาพ วิดีโอ หรืออาจจะเป็น องค์ประกอบของ ข้อความระดับบล็อก ขนาดใหญ่
2. First Input Delay ( FID )
เป็นระยะเวลาตั้งแต่ที่ ผู้ใช้งาน โต้ตอบกับ เว็บไซต์ของคุณ เป็นครั้งแรก (เมื่อคลิกลิงก์ แตะปุ่ม และอื่นๆ) จนถึงตอนที่ บราวเซอร์ตอบสนองต่อการตอบโต้นั้น ๆ โดยในการวัดของ องค์ประกอบนี้ มาจาก ปัจจัยอินเทอร์แอกทีฟใดก็ตาม ที่ผู้ใช้งาน คลิกเป็นครั้งแรก นั่นเอง
3. Cumulative Layout Shift ( CLS )
เป็นคะแนนรวมของ การเปลี่ยนแปลง เลย์เอาท์ทั้งหมด สำหรับการเปลี่ยนแปลง เลย์เอาต์ ที่ไม่คาดคิดทุก ๆ รายการ บนหน้าเว็บ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ ตลอดอายุการใช้งาน หน้าเว็บ โดยหากผู้ใช้งาน มีการเปลี่ยนแปลงเลย์เอาท์มากเท่าใด จะส่งผลให้ค่า CLS มากขึ้น ซึ่งบ่งบอกได้ถึง ประสบการณ์การใช้งานที่ไม่ดี
การเช็ค Core Web Vitals
การเช็ค Core Web Vitals ทั้ง 3 องค์ประกอบนี้ ผู้พัฒนาเว็บไซต์ สามารถเข้าไปเช็คได้ใน ที่เมนู Page Experiences ใน Google Search Console โดยเราสามารถดูรายงาน ภาพรวมทั้งหมดของ เว็บไซต์ได้จากเครื่องมือนี้
การรายงาน ค่ามาตรฐานของ ปัจจัย Core Web Vitals ทั้ง 3 องค์ประกอบนี้ แต่ละตัว จะสามารถแบ่งค่าได้เป็น 3 ระดับ คือ ระดับดี ( Good ) เป็นสีเขียว, ระดับควรปรับปรุง ( Need Improvement ) และระดับแย่ ( Poor ) เป็นสีแดง โดยผู้พัฒนาเว็บไซต์ สามารถเช็ค Performance ได้ทั้ง Mobile และ Desktop เพียงแค่แปะ URL ของเว็บไซต์ของคุณ เท่านั้น หากรายงาน ค่ามาตรฐานของ Core Web Vitals และปัจจัยอื่น ๆ ไม่ใช่สีเขียว ผู้พัฒนาเว็บไซต์ ควรปรับปรุง ปัจจัยเหล่านั้น ที่มีผลต่อการทำ SEO โดยด่วน
อ่านบทความเพิ่มเติม