5 เหตุผลที่ ไมโครไซต์ ไม่เหมาะสำหรับการทำ SEO

Share : facebook line twitter fb-messenger

บทความ 5 เหตุผลที่ ไมโครไซต์ ไม่เหมาะสำหรับการทำ SEO

บทความ www.seolnwza.com



     ก่อนที่เราจะไปหาเหตุผลที่ ไมโครไซต์ (Microsite) ไม่เหมาะสำหรับการทำ SEO เราต้องมาทำความเข้าใจกันตั้งแต่แรกๆก่อนเลย Microsite นั้นคืออะไร และไมโครไซต์ มีความเกี่ยวข้องกับ SEO อย่างไร ไปตามอ่านให้เข้าใจกันค่ะ

 

     Microsite คือเว็บไซต์เฉพาะกิจเกิดขึ้นมาจากการทำแคมเปญการตลาดแบบเฉพาะเจาะจงจะมีเนื้อหาน้อย และนำเสนอเรื่องราวแค่เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับแคมเปญที่ทำเท่านั้น ไม่มีชื่อซับโดเมน แต่จะตั้งชื่อตามแคมเปญที่ทำอยู่ ซึ่งแน่นอนว่ามีความแตกต่างกับเว็บไซต์ (Website) ปกติอยู่มากในหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาในการจัดทำที่เว็บไซต์ใช้มากกว่า ข้อมูลเนื้อหาภายในเว็บที่มากกว่ามีทั้ง E-Commerce Plug-In (ส่วนเสริมอื่นๆ) ซึ่งแน่นอนว่า Microsite ไม่มี และไม่เหมาะสมในการทำอันดับใน Google (SEO) เช่นเดียวกัน และนี้คือ 5 เหตุผลที่ ไมโครไซต์ ไม่เหมาะสำหรับการทำ SEO ดังนี้

 

1. การเชื่อมโยงภายใน

     การทำ Microsite คือการทำเว็บไซต์ที่มีรายละเอียด หรือเนื้อหาเพียงเล็กน้อย จึงไม่เหมาะกับการใส่ลิงก์เชื่อมโยงภายในเพื่อนำผู้เข้าชมไปในส่วนต่างๆ ของเว็บไซต์ ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลเสียต่อการทำ SEO แน่นอน เพราะทาง Google เองได้ให้ความสำคัญกับจำนวนลิงก์ หรือการเชื่อมโยงหากมากจนเกินไปก็จะถูกมองว่าตั้งใจ และดูไม่เป็นธรรมชาติเอาเสียเลย

 

2. อำนาจความรับผิดชอบของเว็บไซต์

     อำนาจความรับผิดชอบของเว็บไซต์คืออำนาจที่ทางเว็บไซต์มี เมื่อเกิดการค้นหาข้อมูลบน Google ซึ่งหากทำเว็บไซต์แบบ Microsite แน่นอนว่าจำนวนหน้าที่น้อย และระยะเวลาที่ทำแค่ในช่วงสั้นๆ หากคุณต้องการสร้างเว็บไซต์ที่มีอำนาจในการค้นหาสูง ก็ควรสร้างขึ้นมาเป็นเว็บไซต์ หรือเว็บบล็อกเพื่อให้ Google สามารถนำไปพิจารณา หรือสร้างการรับรู้ให้กับ Google อย่างชัดเจน

 

3. มีเนื้อหาที่ซ้ำกัน

     หากธุรกิจของคุณมีหลายสาขา ซึ่งแต่ละสาขาก็มี Microsite เป็นของตัวเอง Google ได้ทำการพิจารณาในส่วนข้อมูลอย่างเข้มงวด หากตรวจสอบว่ามีการใช้ข้อมูลที่ซ้ำกันไซต์บางไซต์ของคุณอาจถูกมองว่าไม่มีคุณภาพ

 

4. การติดตาม Analytics

     การทำไมโครไซต์สามารถติดตามการเข้าชมในหลายโดเมนได้ แต่ก็สามารถทำได้อย่างจำกัดและมีวิธีการที่ยุ่งยาก เมื่อมีผู้เข้าชมเว็บไซต์หลักและคลิกไปสู่หน้าย่อยของเหตุการณ์พิเศษแหล่งที่มาของผู้ชมก็จะกลายเป็น การอ้างอิง แทนที่จะกลายเป็นแหล่งที่นำผู้เข้าชมสู่เว็บไซต์หลัก  ซึ่งทำให้ Google Analytics เห็นว่าผู้เข้าชมรายนี้ย้ายจากเว็บไซต์หนึ่งไปยังอีกเว็บไซต์หนึ่ง โดยข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้เข้าชมรายนั้นไม่ได้ติดตามไปสู่ไซต์ใหม่

 

5. การบำรุงรักษา

     เมื่อคุณมีแผนผังของไซต์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งแน่นอนว่าโอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดก็มากขึ้นตามไปด้วย ขั้นแรกคุณอาจต้องการสร้างบัญชี GTM แยกต่างหากและสร้างพื้นที่เก็บข้อมูลเฉพาะสำหรับแต่ละไซต์ จากนั้นคุณต้องเพิ่มรหัส GTM ที่ถูกต้องลงในแต่ละไซต์ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ไซต์ที่คุณมีมากขึ้นจะทำให้คุณมีข้อผิดพลาดมากขึ้น

 

     ทั้งนี้ การสร้างเว็บไซต์ล้วนมีข้อดีและเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป ตัวช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดของคุณคือเหตุผลที่คุณจะสร้างเว็บไซต์ ที่จะทำให้คุณได้เลือกรูปแบบเว็บไซต์ที่เหมาะสมกับงานมากที่สุด

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก am2bmarketing

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

- PPC กับ SEO ต่างกันอย่างไร เลือกใช้แบบไหนดี

- SEO content อยู่ในอันดับดีของ Google

Created : 11/12/2019

บทความที่น่าสนใจ

ทักษะ ที่ นักการตลาด ควรมี ในการทำ SEO

เทคนิคการทำ SEO ให้ เว็บไซต์ ติดอันดับ


phone line chat_facebook